วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระคุณเเม่



- แม่ซึ่งให้กำเนิดเรา แม่เป็นคนดูแลเราตั้งแต่เล็ก
- แม่ซึ่งเปรียบเสมือนนางพยาบาลผู้ดูแลเรายามป่วยไข้
- แม่ซึ้งเป็นเหมือนคุณครูคนแรกของเรา
 - แม่เป็นคนรักเรามากที่สุดแม้ว่าบางครั้งเราจะไม่รู้ว่าแม่รักเราแค่ไหนก็ตาม
- เเม่เป็นคนที่หนูรักมากที่สุด

**แม่ คือ ผู้ที่ให้กำเนิดเรา เลื้ยงดูเราตั้งแต่เล ็กจนโต อบรมบ่มนิสัยให้เราเป ็นคนดีของสังคม ไม่มีความรักใดที่ยิ่ งใหญ่เท่ารักของแม่ที ่มีต่อลูกได้ ลูกจึงเปรียบเหมือนแก ้วตาดวงใจของแม่
เท่าที่ฉันจำความได้ใ นต้อนที่ฉันยังเด็กก็ มีแต่แม่ ผู้ที่เป็นทั้งพ่อและ แม่ของฉัน มันเป็นอะไรที่อยากมา กสำหรับผู้หญิงคนหนึ่ งที่ต้องรับภาระเป็นท ั้งพ่อและแม่ของเด็กด ื้อๆคนหนึ่งที่ทั้งซน ทั้งดื้อ ชอบร้องซื้อของเล่นรา คาแพงๆอยู่เป็นประจำ และมีเรื่องหนักใจมาใ ห้แม่อยู่เสมอ แต่ผู้หญิงคนนี้ก็ไม่ เคยโกรธและพร้อมที่จะ ให้อภัยฉันเด็กคนนี้อ ยู่เสมอ พ่อและแม่ของฉันแยกทา งกันตั้งแต่ฉันยังเด็ กๆ และแน่นอนว่าผู้เป็นแ ม่จะต้องอยู่ไม่ได้แน ่ถ้าไม่มีลูกผู้ที่เป ็นแก้วตาดวงใจอยู่ด้ว ย พ่อไปทำงานอยู่กับป้า ที่นครปฐม ฉันจึงอยู่กับแม่เพีย ง 2 คนมาโดยตลอดเป็นเวลาห ลายปี ฉันรู้ว่าแม่มีความทุ กข์และไม่สบายใจ ทุกครั้งที่แม่ทะเลาะ กับพ่อแม่จะร้องไห้ซึ ่งเป็นภาพติดตาฉันมาโ ดยตลอด ฉันก็ทำได้เพียงเขาไป ปลอบแม่และพยายามเป็น เด็กดีเพื่อให้แม่มีค วามสุขบ้างก็เท่านั้น เอง แม่ไม่เคยเล่าให้ฉันฟ ังว่าทะเลาะกันเรื่อง อะไรเพราะกลัวฉันคิดม าก แม่เป็นคนที่เข้มแข็ง และเป็นคนที่มีความอด ทนสูงเงินทุกบาททุกสต างค์ที่แม่ได้มานั้น แม่แลกมาด้วยหยาดเหงื ่อแรงงานของแม่ ทุกคืนแม่ต้องทำงานหน ักจนถึงเช้า แม่ไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่แม่ทำเพื่อเราเพื่ อให้ลูกได้สุขสบายแล้ วนั้น แม่ต้องลำบากเท่าไรก็ ยอม แม่เคยบอกว่า เงินที่แม่หามานั้นหา มาด้วยความอยากลำบาก ลูกจะต้องตั้งใจเรียน เรียนสูงๆ เพื่อต่อไปจะได้หางาน ดีๆทำไม่ต้องลำบากเหม ือนแม่ ฉันรู้ว่าแม่เหนื่อยล ้ามามากพอแล้ว ฉันได้คิดไว้ว่า สักวันนึกฉันจะต้องทำ ให้แม่ภูมิใจในตัวฉัน และจะเลี้ยงแม่ให้แม่ อยู่สุขสบายเหมือนที่ แม่เลี้ยงฉันถึงจะเป็ นแค่ความคิดของเด็กตั วเล็กๆคนนึ่ง แต่วันหนึ่งความคิดขอ งเด็กคนนี้จะต้องเป็น ประสบความสำเร็จอย่าง แน่นอน และเมื่อเหตุการณ์ ร้ายๆผ่านไป สิ่งดีๆก็เขามาทดแทน ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเ สมอ เพราะถึงพ่อจะแยกทางก ับแม่แต่พ่อก็ยังมาหา อยู่บ่อยๆอยู่บ่อยๆ จนวันหนึ่งพ่อและแม่ก ลับมาคืนดีกันเหมือนเ ดิม กลับมาเป็นครอบครัวที ่อบอุ่นเหมือนเดิม 
* คำสัญญาต่อเเม่
 -หนูสัญญาว่าจะเปนเด็กดี
- หนูสัญญาว่าจะตั้งใจเรียน
- หนูสัญญาว่าจะช่วยงานพ่อเเม่
- จะดูเเลพ่อเเม่ยามป่วยไข้
- สัญญาจะไม่เกเร

คณะรัฐมนตรี







1. การแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้เพิ่มผู้แทนจากศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นกรรมการด้วย ตามความเห็นของกระทรวงกลาโหม โดยกระทรวงการคลังไม่ต้องออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวอีก

องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรมีดังนี้

องค์ประกอบ อธิบดีกรมสรรพสามิต เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหรือผู้แทน ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุม ทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองอธิบดีกรมสรรพสามิตที่อธิบดีกรมสรรพสามิตมอบหมาย ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม กรมสรรพสามิต ผู้แทนกรมสรรพากร ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมธุรกิจพลังงาน ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกองบังคับการตำรวจน้ำ ผู้แทนกองทัพเรือ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการตรวจสอบสรรพสามิต กรมสรรพสามิต เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และหัวหน้าส่วนป้องกันและปราบปราม 1 กรมสรรพสามิต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 อำนาจหน้าที่
 1. กำกับ ดูแล ให้การปฏิบัติตามโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง เกิดความรัดกุม และมีประสิทธิภาพ
 2. ประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการดำเนินงานและเพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจมีขึ้นจากการดำเนินโครงการ
 3. ประเมินผลโครงการ และรายงานผลของโครงการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทราบ
 4. มีอำนาจขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเชิญมาประชุมชี้แจงเมื่อมีความจำเป็น
 5. มีอำนาจแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 2. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)

 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายธวัช นิ่มนวลศรี ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป


 3. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางวิไล บัณฑิตานุกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข (นักวิชาการอาหารและยาเชี่ยวชาญ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข (นักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2555 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป


4. รัฐบาลแคนาดาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ว่า รัฐบาลแคนาดามีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายฟิลิป คาลเวิร์ต (Mr. Philip Calvert) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งแคนาดาประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน         นายรอน ฮอฟฟ์มันน์ (Mr. Ron Hoffmann) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

5. รัฐบาลราชอาณาจักรสเปนเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย

 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสเปนประจำประเทศไทย ว่า รัฐบาลราชอาณาจักรสเปนมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นางสาวมาเรีย เดล การ์เมน โมเรโน ไรย์มุนโด (Ms. Maria del Carmen Moreno Raymundo) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรสเปนประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทนนายอิกนาเซียว ซากัซ เตมปราโน (Mr. Ignacio Sagaz Temprano) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ


6. การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Chief Executive Officer, CEO) ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งนาย Rosli bin Boni เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Chief Executive Officer, CEO) ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555-30 กันยายน 2559 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ


7. การแต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงมหาดไทย)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายนิรวัชช์  ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป


8. ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายศิริ  เลิศธรรมเทวี  ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักบริหารสูง) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป เพื่อทดแทนผู้ครบเกษียณอายุราชการ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 
9. ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกวาระหนึ่ง

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน  ซึ่งครบวาระ 1 ปี  วันที่ 7 กันยายน 2555 และนายจุลพงษ์  โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะครบวาระ 1 ปี วันที่ 4 ตุลาคม 2555 ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกหนึ่งวาระ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ


10. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอธิบดี จำนวนรวม 4  ราย  โดยตำแหน่งเอกอัครราชทูตได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ  ดังนี้
 1. นายรัชนันท์ ธนานันท์  อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ดำรง
ตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง)  สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ สาธารณรัฐฟินแลนด์  สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
 2. นายวรเดช  วีระเวคิน กงสุลใหญ่ (นักบริหารการทูต ระดับต้น) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง
มาเลเซีย สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย สืบแทนนายรัชนันท์ ธนานันท์
 3. นายภาสกร ศิริยะพันธุ์ อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมเอเชียตะวันออก ดำรงตำแหน่ง
เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สืบแทนนายธนาธิป อุปัติศฤงค์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
 4. นายดำรง  ใคร่ครวญ รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมสารนิเทศ ดำรงตำแหน่งอธิบดี
(นักบริหาร ระดับสูง) กรมเอเชียตะวันออก สืบแทนนายภาสกร ศิริยะพันธุ์
ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 11. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 จำนวน 8 ราย ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
 1. นายสุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง
 2. นายบุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
 3. นายอภิชัย มงคล รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง
 4. นายสมชัย นิจพานิช รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
 5. นายวชิระ เพ็งจันทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหารระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมสุขภาพจิต
 6. นายเจษฎา โชคดำรงสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหารระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมอนามัย
 7. นาวาอากาศตรี บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
 8. นายชาญวิทย์ ทระเทพ นายแพทย์ (ด้านพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข) ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง
 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 12. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ดำรงตำแหน่งตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ  ดังนี้
 1. พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โอนย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม
 2. นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคม โอนย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดี
กรมทางหลวง
 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 13. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหารสูง)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวนวรัตน์ อโนมะศิริ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหารสูง) ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

  14. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงยุติธรรม จำนวน 2 ราย ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ  ดังนี้
1. พันตำรวจเอก โภคพิบูลย์ โปตระนันทน์  อธิบดี (บริหาร ระดับสูง) กรมคุมประพฤติ กระทรวง
ยุติธรรม   ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (บริหารระดับสูง)  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐกระทรวงยุติธรรม)
2. นางสาวรื่นวดี  สุวรรณมงคล  ผู้ตรวจราชการกระทรวง  (บริหาร ระดับสูง)  สำนักงาน
ปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี   (บริหาร ระดับสูง)  กรมคุมประพฤติ  กระทรวงยุติธรรม
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เพื่อทดแทนตำแหน่งผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมโอนไปดำรงตำแหน่งทดแทนตำแหน่งที่เกษียณอายุราชการ และเพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนการปฏิบัติราชการ
 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 15. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน



asean_2510
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อ
คิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน 
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน